- June 18, 2020
- Posted by: Konica Minolta
- Category:
การออกแบบไม่มีขีดจำกัด ผู้ผลิตส่วนใหญ่ใช้ลักษณะของผิวสัมผัส (Texture) ต่างๆไม่ว่าจะเป็นผิวเงา หรือ ผิวด้าน เพื่อนำเสนอภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความจำเป็นใน “การควบคุมจัดการเรื่องของสี” เกิดขึ้น
วัตถุสองชิ้นที่มีค่าสี L*a*b* ใกล้เคียงกัน แต่ค่าความเงาต่างกัน ลักษณะที่ปรากฏต่อสายตาจะมีความแตกต่างเช่นเดียวกัน เนื่องจากลักษณะพื้นผิวของวัตถุมีผลต่อแสงที่สะท้อนกลับเข้าสู่สายตาคน ถ้าวัตถุมีความเงาสูง แสงที่สะท้อนกลับสู่สายตาจะมีลักษณะเหมือนการสะท้อนจากกระจกเงา สายตาคนเราจะไม่ได้รับแสงที่สะท้อนกลับแบบ Specular ดังนั้นสายตาเราจึงมองเห็นผิววัตถุที่มีความเงาดำกว่าวัตถุที่มีพื้นผิวด้าน นั่นเอง
ในทางกลับกันวัตถุที่มีพื้นผิวด้าน การสะท้อนแสงจะเกิดขึ้นแบบกระจายในหลาย ๆ ทิศทาง ซึ่งทำให้สายตาเรามองเห็นวัตถุนั้นดูสว่างกว่า
สำหรับผู้ผลิต จึงต้องให้ความสำคัญต่อการควบคุมทั้งสีและความเงาเพื่อที่จะสามารถตรวจสอบได้ว่าความแตกต่างที่สายตามองเห็นนั้นเกิดจากสีหรือความเงา เนื่องจากการดำเนินการแก้ไขในเรื่องสีนั้นแตกต่างจากการจัดการเกี่ยวกับความเงาอย่างสิ้นเชิง
หากต้องการวัดเรื่องของสี และความเงา ในหน่วยงานการผลิตที่มีลักษณะของ supply chain network การใช้เครื่องวัดสีสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ รุ่น CM-26dG นับได้ว่าเป็นตัวช่วยที่ดี ด้วยระบบออฟติกแบบ d:8 geometry และรวมความสามารถในการวัดความเงาที่มุม 60° รวมไปถึงสามารถในการวัดสีทั้งในโหมด SCI และ SCE (Specular Component Included และ Specular Component Excluded) เครื่องมือวัดสีรุ่น CM-26dG ทำการวัดสีและความเงาได้พร้อมกันโดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องวัดความเงา (Gloss Meter)
และด้วยค่า Inter-Instrument Agreement (IIA) ที่แคบมากเพียงแค่ ∆E*ab< 0.12 (ค่าเฉลี่ยของ BCRA 12 สี) และ ±0.2 GU (0 – 10 GU), ทางผู้ผลิตจึงมั่นใจได้ว่าการสื่อสารในเรื่องของค่าสี และ ค่าความเงาระหว่างหน่วยงานต่างๆภายในองค์กรจะมีความแม่นยำและถูกต้องตามที่กำหนด
ดูวิดีโอเกี่ยวกับเครื่องวัดสีรุ่น CM-26dG คลิกที่นี่
นัดหมายเพื่อรับชมการสาธิตผลิตภัณฑ์ และบริการให้คำปรึกษาฟรี
เกี่ยวกับการวัดสี และความเงา
บริษัท โคนิก้า มินอลต้า บิสสิเนส โซลูชันส์ (ประเทศไทย) จํากัด (Sensing Business)
โทร: 02-029-7000 Ext.1400 และ 1402
อีเมล: sth@konicaminolta.com